วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 12


Learning Record No.12
Friday 25 October 2019
Time  12:30 - 15:30  o'clock

   🌼The knowledge (ความรู้ที่ได้)🌼
      เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้มอบหมายให้นักศึกษาไปทำนิทานมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังและมีส่วนร่วมกับนิทานของเรา โดยนิทานนี้สามารถดึงคำหรือรูปภาพออกได้ ซึ่งจะเป็นการดึงดูดให้เด็กหรือทุกคนมีความสนใจในการฟังนิทาน(Listening to stories) ซึ่งการเล่านิทาน(storytelling) จะมีการเล่าที่ใช้น้ำเสียงและการเน้นคำ การเว้นวรรค จังหวะการเล่าให้มีความน่าสนใจ ซึ่งเพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มมีเรื่องที่นำมาเล่าต่างกันไป มีดังต่อไปนี้

    🍂 สมาชิก : 1.นางสาวชาณิศา หุ้ยทั่น   2.นางสาวสุจิณณา พาพันธ์   3.นางสาวปวีณา พันธ์กุล

         นำเสนอนิทานเรื่อง  The Bat and the Weasel 
        ➮ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : การออกเสียงควรมีการเว้นวรรค พยายามอ่านให้ช้าและออกเสียงให้ชัดเจนและควรหานิทานที่มีแหล่งอ้างอิงได้



   🍂 สมาชิก : 1.นางสาวจันทร์จิรา   เปลี่ยนเรื่องศิลป์   2.นางสาวสิริวดี นุเรศรัมย์   3.นางสาวปรางทอง สุริวงษ์

     ➮ นำเสนอนิทานเรื่อง : The Fox and The Grapes
     ➮ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : ควรมีรูปภาพมากกว่านี้ และการเล่าไม่จำเป็นต้องรีบแต่ควรออกเสียงให้ชัดสำเนียงต้องเยอะๆ และอย่าเสียงเบาเกินไป




   🍂 สมาชิก : 1.นางสาวรัติยากร ศาลาฤทธิ์   2.นางสาวมารีน่า ดาโร๊ส   3.นางสาวสุภาภรณ์ วัดจัง

     ➮ นำเสนอนิทานเรื่อง : The Man and The Wood
     ➮ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : ควรเพิ่มรูปจะได้เป็นที่น่าสนใจและควรมีการแปลทีละประโยคหรือทีละวรรคดังนั้นควรนำกลับไปแก้ไขเพิ่มเติม


    🍂 สมาชิก : 1.นางสาวสุภาวดี ปานสุวรรณ   2.นางสาวอุไรพร พวกดี   3.นางสาวบงกชกมล ยังโยมร

     ➮ นำเสนอนิทานเรื่อง : The lion and The mouse
     ➮ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : การออกเสียงควรมีการเว้นวรรค แบ่งช่วงการอ่านและควรเพิ่มเติมในเรื่องตัวหนังสือ อย่าให้ติดกันมากเกินไป


    🍂 สมาชิก : 1.นางสาวอรอุมา ศรีท้วม(ไม่มา)   2.นางสาวณัฐชา บุญทอง   3.นางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้

     ➮ นำเสนอนิทานเรื่อง : TheLion and The Goat
     ➮ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : การเว้นช่วงในการอ่านออกเสียง จะเป็นที่น่าสนใจมากถ้ามีการเพิ่มลีลาในการเล่าเข้าไป



    🍂 สมาชิก : 1.นางสาวสุพรรณิการ์ สุขเจริญ   2.นางสาวอภิชญา โมคมูล   3.นางสาวธิดาพร สึกชัย

      ➮ นำเสนอนิทานเรื่อง : The Hares and The Fox
      ➮ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : การออกเสียง การเว้นช่วงในการเล่า ควรเพิ่มจังหวะในการเล่ามากกว่านี้และควรเขียนตัวหนังสือให้ห่างกันกว่านี้


     🍂 สมาชิก : 1.นางสาวรุ่งฤดี โสดา   2.นางสาวอรุณวดี ศรีจันดา   3.นางสาวอินทิรา หมึกสี

     ➮ นำเสนอนิทานเรื่อง : The Cow Named Moo
     ➮ ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ : ควรหานิทานที่เป็นเรื่องเล่า และการออกเสียงควรออกให้เป็นจังหวะและเล่าโดยใช้เสียงสูงต่ำให้ดูน่าสนใจ


👻 Teaching Assessment (การประเมิน)

🌱 Self  assessment ( ประเมินตนเอง )
                ยังออกเสียงในการเล่านิทานได้ยังไม่ดีพอ ควรปรับปรุงเรื่องการอ่าน ควรชัดมากกว่านี้ และค่อย ๆ เล่าไม่ควรรีบเล่าเพราะจะทำให้เพื่อนฟังไม่ทัน
            
🌱 Assess friend ( ประเมินเพื่อน )
                เพื่อน ๆ ทุกคนออกมาเล่านิทานของกลุ่มตนเอง บางคนออกเสียงได้ดี มีการเตรียมตัวในการอ่านและทุกกลุ่มทำผลงานออกมาได้ดีน่านำไปเป็นตัวอย่าง
🌱 Teacher Assessment ( ประเมินผู้สอน )
               มีการให้คำแนะนำที่ดี และมีการบอกกล่าวในการปรับปรุงให้ออกมาดีขึ้น

วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 11


Learning Record No.11
Friday 18 October 2019
Time  12:30 - 15:30  o'clock

   👻 The knowledge (ความรู้ที่ได้)
                          วันนี้เรียนเกี่ยวกับหลักสูตรปฐมวัยในหัวข้อ"หลักสูตรปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี"
(Eary Childhood Curiculum for Children form Three to Six Years of Age.) ซึ่งมีการถอดความ ความหมายออกมา มีเนื้อหาดังข้อความด้านล่างต่อไปนี้ 


       🍄 หลักสูตรปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี
                    หลักสูตรการศึกษษปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารฒณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล

      🍄 จุดมุ่งหมาย
                     หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มศักยภาพและมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่อไป จึงกำหนดจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดกับเด็กเมื่อจบการศึกษาระดับปฐมวัย ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี 
2. สุขภสพจิตดี มีสุทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม
3. มีทักษะชีวิต และปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นไก้อย่างมีความสุข
4. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
 
     🍄 มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
                    หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี  กำหนดมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จำนวน 12 มาตรฐาน ประกอบด้วย
1. พัฒนาการด้านร่างกาย   ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 1     ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
     มาตรฐานที่ 2     กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ   ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 3     มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
     มาตรฐานที่ 4     ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
     มาตรฐานที่ 5     มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจมี่ดีงาม
3. พัฒนาการด้านสังคม   ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 6     มีทักษะชีวิตและปฎิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     มาตรฐานที่ 7     รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย
     มาตรฐานที่ 8     อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฎิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ
                            ประชาธิปไตย  อันมีพระมากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา   ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน คือ
     มาตรฐานที่ 9     ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
     มาตรฐานที่ 10    มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
     มาตรฐานที่ 11    มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
     มาตรฐานที่ 12    มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรุ้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

        หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน โดยที่แบ่งกลุ่มเพราะว่าจะแยกให้เป็นทั้ง 4 หัวข้อ คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา อีกทั้งยังให้นักศึกษาช่วยกันดึงคำที่เป็นความหมายของกลุ่มตัวเองออกมาเขียนและแปะลงบนกระดานของกลุ่มตนเอง โดยภาพกิจกรรมต่อไปนี้


กลุ่ม ด้านร่างกาย (Physical Development)

    ⏩Standard 1 (มาตรฐานที่ 1) ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยมีสุขนิสัยที่ดี
     🌻 คำศัพท์   Fat อ้วน / Slim สมส่วน / Thin ผอม / Tall สูง / Short เดี๋ย / Small เล็ก 

   ⏩Standard 2 (มาตรฐานที่ 2) กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่มีการพัฒนาที่ดีมีความสัมพันธ์กันและเกิดความคล่องแคล่ว 
     🌻 คำศัพท์   Walk เดิน / Turn Face หันหน้า / Dance เต้น / Jump กระโดด / Run วิ่ง / Crawl คลาน


กลุ่ม ด้านอารมณ์-จิตใจ (Emotional Development)

     ⏩ Standard 3 (มาตรฐานที่ 3) มีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข
          🌼คำศัพท์   Laugh หัวเราะ / Happy มีความสุข

     ⏩ Standard 4 (มาตรฐานที่ 4) การแสดงออกทางอารมณ์ผ่านศิลปะดนตรีและการเคลื่อนไหว
         🌼คำศัพท์   Sensitive อ่อนไหว / Angry โกรธ / Cry ร้องไห้

     ⏩ Standard 5 (มาตรฐานที่ 5) มีคุณธรรมจริยธรรมจิตใจที่ดีงาม
         🌼คำศัพท์   Pleased ยินดี Enthusiastic กระตือรือร้น

กลุ่ม ด้านสังคม (Social Developmeat)

     ⏩ Standard 6 (มาตรฐานที่ 6) มีทักษะชีวิตปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          🌺คำศัพท์   Sufficiency ความพอเพียง / Rights สิทธิ / Responsibility ความรับผิดชอบ

     ⏩ Standard 7 (มาตรฐานที่ 7) รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
          🌺คำศัพท์   Environment สิ่งแวดล้อม / Ethics จริยธรรม / Moral คุณธรรม / Culture

     ⏩ Standard 8 (มาตรฐานที่ 8) เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขเป็นสมาชิกที่ที่ของสังคมภายใต้ระบอบการปกครองของรัฐธรรมนูญ
          🌺คำศัพท์   Community ชุมชน | Citizen สังคม / Human relations มนุษยสัมพันธ์ | Respect Democracy ประชาธิปไตย

กลุ่ม ด้านสติปัญญา (Cognitive Development)

     Standard (มาตรฐานที่ 9) การใช้ภาษาสื่อสารเหมาะสมกับวัย
          🌷คำศัพท์   Language ภาษา / Communication การสื่อสาร

     ⏩ Standard 10 (มาตรฐานที่ 10 ) มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
          🌷คำศัพท์   Thinking การคิด Reading and Writing การอ่านและการเขียน

     ⏩  Standard (มาตรฐานที่ 11) มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
          🌷คำศัพท์   Imagination จินตนาการ / Demonstrated การสาธิต

     ⏩ Standard 12 (มาตรฐานที่ 12) มีเจตคติทางบวกในการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้
          🌷คำศัพท์   Learning เรียนรู้ / New knowledge ความรู้ใหม่

      🍑 Home work : Have students record standard audio clips of their own group.
                                   (ให้นักศึกษาอัดคลิปเสียงมาตรฐานของกลุ่มตนเอง)










         👻 Teaching Assessment (การประเมิน)

🌱 Self  assessment ( ประเมินตนเอง )
                เข้าเรียนตรงเวลา มีการค้นหาความหมายของคำ ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกอจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ แต่ต้องแก้ไขเรื่องทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ
            
🌱 Assess friend ( ประเมินเพื่อน )
                เพื่อน ๆ ต่างให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม เพื่อนบางคนออกสำเนียงได้ดี และบางคนยังต้องปรับปรุงและฝึกฝน
🌱 Teacher Assessment ( ประเมินผู้สอน )
               มีกิจกรรมในห้องเรียนเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน ทำกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ผ่านเกม พื่อให้จำได้ง่ายมากขึ้น มีการแนะนำการออกเสียงสำเนียงภาษาอังกฤษ

วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Diary 10


Learning Record No.10
Friday 11 October 2019
Time  12:30 - 15:30  o'clock

   💟 The Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

       วันนี้อาจารย์แจกหนังสือหลักสูตรปฐมวัย(ฉบับภาษาอังกฤษ) นักศึกษาและอาจารย์ได้ช่วยกันแปลและหาความหมายของคำ ซึ่งนักศึกษาต่างได้รับมอบหมายให้แปลในส่วนของแต่ละคน และนำมารวมกันในตอนท้าย มีเนื้อความดังต่อไปนี้



           ซึ่งสามารถถอดความออกมาได้ความประมาณว่า
       🌽 ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
                การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวมบนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคนให้เต็มศักยภาพภายใต้บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และคสามเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป๋นมนุษย์ที่สมบูรณ์  เกิดคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

       🌽 วิสัยทัศน์
                   หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่องไได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีความสุขและเหมาะสมกับวัย มีทักษะชีวิตและปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นคนดีมีวินัย  และสำนึกความเป็นไทยโดยร่วมมือระหว่างสถานศึกษาพ่อแม่ ครอบครัวชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก


         🌽 หลักการ
                      ตามด้วยอนุสัญญาที่ว่าด้วยสิทธิเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมพัฒนาการ ตลอดจนการได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเหมาะสม  ด้วยปฎิสัมพัธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่ เด็กกับผู้สอน เด็กกับผู้เลี้ยงดู หรือที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดู การพัฒนา และให้การศึกษาแก่เด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างเป็นองค์รวม  มีคุณภาพและเต็มศักยภาพ โดยได้แบ่งออกเป็น  5  หลักการดังต่อไไปนี้

        1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน
        2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
        3. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมายและมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ลงมือกระทำในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนเหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนที่เพียงพอ
        4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นคนดี มีวินัย และมีความสุข
        5.  สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็กระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย

และต่อมาก่อนที่จะออกห้องเรียน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาพูดคำคมมาคนละ 1 ประโยค


 Never give up. Everything takes time. You will get there
 🌰อย่ายอมแพ้เพราะทุกอย่างใช้เวลาแล้วเราจะไปถึงจุดๆนั้นเอง

 Love is letting go of fear.
 🌰ความรักคือการทิ้งความกลัวไป

 Friendship often ends in love; but love in friendship – never.
 🌰มิตรภาพมักจะจบลงด้วยความรัก แต่ความรักไม่มีวันจบลงด้วยมิตรภาพ

 All you need is love
 🌰สิ่งเดียวที่เราต้องการคือความรัก

 True love begins when nothing is looked for in return.
 🌰รักแท้จะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่หวังผลตอบแทนใดๆจากอีกฝ่าย

 Sometimes removing some people out of your life makes room for better people.
 🌰บางครั้งการลบใครบางคนออกไปจากชีวิต ก็ทำให้เรามีที่ว่างสำหรับคนที่ดีกว่า

Don’t let your dreams be dreams.
 🌰อย่าปล่อยให้ความฝันของคุณ เป็นเพียงแค่ฝัน

 Don’t stop when you are tired stop when you are done.
 🌰อย่าหยุดตอนที่คุณเหนื่อย..แต่หยุดเมื่อคุณทำสำเร็จแล้ว

 𝐀 𝐝𝐚𝐲 𝐟𝐮𝐥𝐥 𝐨𝐟 𝐬𝐦𝐢𝐥𝐞
 🌰วันแห่งรอยยิ้มเต็มไปด้วยรอยยิ้ม

 Every story has an end but in life every end is a new beginning.
 🌰เรื่องราวทุกเรื่องนั้นมีตอนจบ แต่ในชีวิตจริง ในทุกๆตอนจบคือการเริ่มต้นครั้งใหม่

 The best proof of love is trust.
 🌰หลักฐานของความรักที่ดีที่สุดคือความเชื่อใจ

 The only way to do great work is to love what you do. 
 🌰หนทางเดียวที่จะทำงานให้ดีเยี่ยม ก็คือรักในสิ่งที่คุณทำ

 There is only happiness in life, to love and to be loved.
 🌰ความสุขเดียวในชีวิตนั่นก็คือ การได้รักและการที่ถูกรัก






🍄Teaching Assessment ( การประเมิน )

🍎 Self  assessment ( ประเมินตนเอง )
            สัปดาห์นี้นักศึกษามาเรียนจำนวนน้อย จึงช่วยกันแปลความหมายของคำศัพท์สามารถแปลออกมาไได้ใกล้เคียงกับต้นฉบับภาษาไทย

 🍎 Assess friend ( ประเมินเพื่อน )
            เพื่อนต่างสนใจเรียน แต่มีบางคนที่ขาดเรียน จึงไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันให้ครบ เพื่อนๆต่างตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือกันในห้องเรียน

 🍎 Teacher Assessment ( ประเมินผู้สอน )
             อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับคำศัพท์ เพราะเป็นพื้นฐานที่นักศึกษาควรได้ทราบ อีกทั้งมีการสั่งงานให้ทำก่อนที่จะเลิกเรียน